วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรายวิชา 162531-2009

(เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาหลักสูตรและการสอน)
กิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชา162531ได้ให้ข้าพเจ้ามีความรู้ มีความสามารถตามที่หลักสูตรกำหนดไว้ ประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนรู้โดยทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การทำกิจกรรมกลุ่มและรายบุคคลส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้หลายอย่าง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่ตนเองสอนได้ องค์ความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับ ได้แก่
1. การใช้งานในระบบบริหารจัดการ การเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:
KU-LMS:http://course.ku.ac.th
การเข้าใช้งานต้อง Login โดยพิมพ์Account และ Password ของตนเองจึงเข้าใช้งานได้ ในMAXLEARNมีเมนูหลายอย่างให้เลือกใช้งานตั้งแต่อ่านกระดานข่าว การลงทะเบียนรายวิชา ข้อมูลส่วนบุคคลของนิสิต ข้อมูลรายวิชาซึ่งนิสิตต้องใช้ในการเรียนตั้งแต่แหล่งการสืบค้นข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆสำหรับการศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เนต การรับคำสั่งงานที่อาจารย์มอบหมายให้จัดทำส่ง การส่งงานซึ่งต้องส่งเป็นfileมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เมื่อต้องการส่งงาน คลิกไอคอนคำว่า “ส่ง” คลิกที่ Brouse เลือกไฟล์ที่ต้องการส่งขึ้นมาแล้วคลิกที่ปุ่ม send การพูดคุยกับอาจารย์ผู้สอนให้คลิกที่ TalkAjarn พูดคุยกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนให้คลิกที่ Talkstd การพูดคุยกับอาจารย์หรือเพื่อนให้คลิกที่ New Contribution พิมพ์ข้อความที่ต้องการสนทนา แล้วคลิกที่ปุ่มsend การใช้งานWeb Board จะต้องตั้งจำนวนวันในการแสดงผลข้อมูลก่อน โดยคลิกที่ Edit reference
แต่เดิมแสดงผลของข้อมูลไว้ 7 วัน ให้ปรับเป็น 99 วัน เพื่อให้ข้อมูลยังปรากฏอยู่เมื่อเลย 7 วันไปแล้ว
2. การับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเว็บKU Webmail:http://www.ku.ac.th
การเปิดตู้จดหมายต้องพิมพ์ Account และ Password ของตนเองก่อน เมื่อเปิดตู้จดหมายแล้ว หากต้องการเปิดดูจดหมายให้ใช้เมนู inbox ถ้ามีจดหมายมาถึงให้คลิกเปิดอ่านทีละฉบับ การลบไฟล์ให้คลิกmark ที่หน้าชื่อจดหมายแล้วจึงคลิก Delete การส่งจดหมายใช้เมนูและคลิกที่ compose พิมพ์ E-mail address ของผู้รับในช่อง To
การแนบไฟล์เอกสารไปกับจดหมายคลิกปุ่ม Brouse ค้นหาไฟล์ที่ต้องการแนบ คลิกชื่อไฟล์ คลิก Open คลิกปุ่ม Attach แล้วจึงคลิกปุ่ม Send Message
3. การจัดทำ Weblog
การสมัครเป็นสมาชิก Blogger.com เป็นเว็บไซต์ที่ได้ฝึกเขียนblog ก่อนใช้งานต้องป้อนชื่อ Username และ Password แล้วจึงคลิก SING IN การเข้าสู่หน้าจอมีทั้งการเขียนblogและการปรับแต่งblog สามารถเลือกใช้ตามความต้องการเช่นการกำหนดอักษร การแทรกข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ เป็นต้น การอภิปรายงานขึ้น Weblog โดยใช้ปุ่ม Posting เป็นต้น
4. การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเว็บไซต์แล้วสรุปเป็นรายงาน
ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจัดทำเป็นรายงานเป็นงานกลุ่มในหัวข้อเรื่องวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ในหัวข้อย่อย Online Learning –การเรียนแบบออนไลน์ นอกจากนี้ได้ศึกษางานกลุ่มอื่นที่รับผิดชอบเรื่อง Web-Based Instruction2WebQuest –การสอนผ่าน/อิงเว็บ และ eLearning/Blened Learning -การเรียนรู้ด้วยสื่อและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังศึกษาเพิ่มเติมในเรื่อง ไอซีทีกับการศึกษาไทย เพื่อมีแนวคิดในการประยุกต์ใช้ในโรงเรียน
5. การทำเว็บไซต์ส่วนบุคคล (Pirun Website) โดยใช้โปรแกรม Photoimpact Notepad , Macro media Dreamweaver
- การเขียนคำสั่งเพื่อแบ่งจอภาพเป็นของภาษา html โดยใช้โปรแกรม Notepad และบันทึกWebpage เป็นชื่อ index.html
- ใช้โปรแกรม Photoimpact สำหรับการสร้างตกแต่งภาพ และสร้างข้อความบันทึกเก็บไว้ที่ Drive:D โดยสร้างโฟลเดอร์ชื่อ Template ในช่อง file name ตั้งชื่อเป็น hometemp การจัดเก็บเป็นเว็บเพจต้อง Slice ก่อนโดยคลิกที่ Slice Tool ,Erase All cและ Auto Slice
- ใช้โปรแกรม Dreamweaverสำหรับทำหน้าต่างๆของเว็บไซต์
6. การสำเนาไฟล์ขึ้นสู่ server ของมหาวิทยาลัย
โดยเปิดไฟล์ FTP กรอกข้อมูลลงในกล่อง Session Properties ชื่อ Host Name :pirun.ku.ac.th , User ID และ Password เป็นของผู้ใช้ คลิกปุ่ม Apply ตามด้วย OK
ดับเบิ้ลคลิกไฟล์ Public_html ทางขวามือซึ่งเป็นตู้เก็บงานของตนเองบนเว็บไซต์ ส่วนทางซ้ายมือ ดับเบิ้ลคลิก WebPirun ขึ้น เลือกงานที่จะสำเนาขึ้นไปเก็บบน serve
ให้ระบายงานที่จะขึ้นเป็นสีดำ คลิกปุ่มสำเนาไฟล์ คลิกปุ่ม Yes ,close และ Exit เพื่อออกจากโปรแกรม
7. การศึกษาค้นคว้าเรื่อง Webquest นวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย
จัดทำรายงานเป็นงานกลุ่มเพื่อเปลี่ยนกันศึกษาเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง ความหมาย องค์ประกอบ การประยุกต์ใช้ทางการศึกษา แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ รูปแบบกิจกรรม(Taskology) ขั้นตอนและวิธีการและแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ตัวอย่างเว็บเควส การวิเคราะห์รูปแบบกิจกรรม ผลงานผู้เรียนและแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
8. การจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรและหน่วยการเรียนเพื่อจัดทำแบบเรียนเว็บเควส
การพัฒนาหลักสูตรได้เริ่มจัดทำตามขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
จัดทำข้อมูลโรงเรียน ศึกษาโครงสร้างหลักสูตรรายวิชา การวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อให้ได้มโนทัศน์ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ หน่วยการเรียน จำนวนชั่วโมง
9. การจัดทำโครงการจัดทำหน่วย/บทเรียนWebquest กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง รู้จักกับร่างกาย
หลังจากได้วิเคราะห์หลักสูตรจนกระทั่งได้ชื่อหน่วยการเรียนแล้ว ให้นำจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนและจุดประสงค์ของรูปแบบ Webquest มาหล่อหลอมเข้าด้วยกัน จนได้จุดประสงค์เว็บเควส ออกแบบกิจกรรม การวัดผลประเมินผล สื่อเพิ่มเติมหาแหล่งเรียนรู้สำหรับการศึกษาค้นคว้าบทเรียนWebquestใช้เทมเพลทสำเร็จรูปเป็นหน้าแรก ส่วนหน้าย่อยซึ่งเป็นองค์ประกอบของบทเรียนใช้โปรแกรมMacro media Dreamweaver
องค์ความรู้ที่ข้าพเจ้าได้รับจากการเรียนcourseนี้ทำให้ข้าพเจ้าเกิดความภาคภูมิใจ ดีใจและพอใจในผลงานเป็นอย่างมากสมกับที่ตั้งใจมาเรียนเพื่อพัฒนาตนเอง และตั้งความหวังที่จะนำความรู้ที่ได้รับ ความสามารถที่มีไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตนเองนักเรียนและประเทศชาติ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เปิดการเรียนการสอนcourseนี้ให้ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเรียนรู้ ได้ใช้ห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย กราบขอบพระคุณอาจารย์ผู้สอน รศ.ดร.มธุรส จงชัยกิจ ที่ได้ให้ความรู้อย่างมากมายด้วยความเมตตา และขอขอบคุณเพื่อนร่วมชั้นเรียนน้องๆทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือความร่วมมือเป็นอย่างดี

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การนำเสนอโครงการจัดทำบทเรียนเว็บเควส

การนำเสนอผลงานรายบุคคลเรื่อง โครงการจัดทำบทเรียน Web Quest
ข้าพเจ้าได้จัดทำโครงการจัดทำบทเรียน Web Quest ชื่อเรื่อง อวัยวะแสนรัก สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกระบวนการจัดทำให้ได้ชื่อเรื่องเพื่อนำมาจัดทำ Web Quest จากการวิเคราะห์หลักสูตรให้ได้หน่วยการเรียนรู้ ได้จุดประสงค์การเรียนรู้ บทเรียนWeb Quest เรื่อง อวัยวะแสนรัก สอดคล้องกับสาระที่ 1 มาตรฐานที่ 1.1 ตัวชี้วัดที่ 3 และมาตรฐานที่ 8.1 มี 5 ตัวชี้วัดซึ่งเป็นทักษะทางวิทยาศาสตร์ การพิจารณากำหนดใช้รูปแบบกิจกรรม Web Quest ข้าพเจ้าได้เลือกใช้กิจกรรม Compilation Task กำหนดชิ้นงานโดยให้นักเรียนจัดทำสมุดภาพอวัยวะภายนอก การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ Web Quest ได้นำจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ได้มาหล่อหลอมกับจุดประสงค์ของรูปแบบ Compilation Task เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการค้นคว้าจากหลายเว็บไซต์ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่ครูจัดเตรียมไว้ให้รวมทั้งสื่อเพิ่มเติม จนสามารถนำความรู้มาจัดทำสมุดภาพอวัยวะภายนอกได้ นักเรียนจะมีกระบวนการเรียนรู้ตามลำดับขั้นตอนของจุดประสงค์เว็บเควส ซึ่งลำดับขั้นตอนการเรียนรู้จนถึงภาระการทำชิ้นงานจะปรากฏอยู่ในProcess รวมทั้งการประเมินผลที่สะท้อนถึงการบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ Web Quest ที่ได้ตั้งไว้
วิธีการทำ Web Quest จนได้ผลงานออกมานั้น เนื่องจาก Web Quest เป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสรู้จักและเป็นสิ่งที่น่าสนใจเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอนและเผยแพร่แก่เพื่อนครูที่ไม่มีโอกาสได้รู้จักและน่าจะเป็นส่วนหนี่งในการช่วยพัฒนาการศึกษาด้านICTของเด็กไทยได้ ข้าพเจ้าได้เกิดการเรียนรู้วิธีการทำ Web Quest ตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาเอกสารจากเว็บไซต์ต่างๆที่อาจารย์กำหนดให้ ทำให้ทราบว่า Web Quest คืออะไร มีConcept อย่างไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง มีรูปแบบการจัดกิจกรรมอย่างไรบ้าง มีวิธีการให้ได้ Web Quest สำเร็จรูปมาใช้อย่างไร รวมถึงรูปแบบ Web Quest แบบใหม่
2. การใช้Program Photoimpact สำหรับทำ Home Page และ Menu การใช้Program
Notepad สำหรับเขียนคำสั่งการจัดทำ Home Page
3. การใช้Program Dreamweaver สำหรับจัดทำหน้าต่างๆตามองค์ประกอบของ Web Quest วิธีการทำLink ไปยังเอกสารอื่นๆเช่นแบบฝึกหัด แบบทดสอบเป็นต้น การค้นหารูปภาพเพื่อนำมาCopyลงใน Web Quest
4. การเรียนแบบร่วมมือซึ่งเป็นวิธีการเรียนรู้แบบOnline กิจกรรมกลุ่มทำให้ข้าพเจ้าได้เข้าใจ เรียนรู้เมื่อพบปัญหาที่กำลังศึกษา การให้ความช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือของกลุ่มผู้เรียน เพื่อให้บรรลุผลการเรียนเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าชื่นชมและศรัทธา เพราะเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันและเรียนรู้ร่วมกัน
5. การเผยแพร่ผลงาน Web Quest ผ่านเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้ศึกษาจากเอกสารและฝึกปฏิบัติจริงได้สร้างความภาคภูมิใจในผลงาน เป็นความสำเร็จที่ผ่านปัญหาอุปสรรคที่สามารถแก้ไขได้เพราะความร่วมมือ
สุดท้ายนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้เป็นอย่างยิ่ง ขอขอบคุณครูบาอาจารย์ รศ.ดร.มธุรส จงชัยกิจ ผู้ประสาทวิชาให้คำชี้แนะ ให้โอกาสผู้ผิดพลาดได้แก้ไขข้อบกพร่อง พร้อมทั้งสอดแทรกเรื่องหลักสูตรและคุณธรรม จริยธรรม พลังน้ำใจของครูบาอาจารย์ทำให้เกิดความศรัทธาและเชื่อมั่นในการสร้างความสำเร็จและช่วยพัฒนาการศึกษาของไทยต่อไป

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

Welcome !


ยินดีต้อนรับสู่เว็บ
อ.อุบลลักษณ์ ชาวงษ์
กลุ่มการเรียน: การสร้างองค์ประกอบการจัดการการเรียนรู้ในชั้นเรียนของการเรียนแบบออนไลน์
โดย Edward Volchok, Ph.D, Queensborough Community/College/CUNY and Stevens Institute of Technology

สิ่งที่พบและเป็นปัญหาสำหรับการสอนในชั้นเรียนของการเรียนแบบออนไลน์ มีสองประเด็นคือ 1. ความสำเร็จในการจัดองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ 2. การจัดทำโครงงานเป็นกลุ่มให้บรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักเรียนกับครู และระหว่างนักเรียนด้วยกัน
การจัดองค์ประกอบสำหรับการเรียนรู้ มี 5 หลัก ได้แก่
1. การคิดที่เป็นระบบ (Systems Thinking)
2. ความรอบรู้ส่วนบุคคล ( Personal Mastery
3. การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ (Shared Vision)
4. รูปแบบของสภาวะทางจิตใจ (Mental Model)
5. การเรียนเป็นกลุ่มคณะ (Team Learning)
การคิดที่เป็นระบบ (Systems Thinking)
การคิดที่เป็นระบบใช้หลักการบูรณาการการสร้างความคิดสำหรับการเรียนรู้ ทักษะการคิดที่เป็นระบบช่วยให้นักเรียนมองเห็นสถานการณ์ของสาเหตุและผลกระทบที่เด่นชัดและใช้เวลาในการพิจารณาถึงผลกระทบ
ความรอบรู้ส่วนบุคคล ( Personal Mastery)
ความรอบรู้ส่วนบุคคลคือหลักการในการจำแนกแยกแยะและทำให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
การแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ (Shared Vision)
ความรอบรู้ส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ การให้โอกาสนักเรียนในการแสดงแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ มีข้อแนะนำคือการตั้งเป้าหมายให้นักเรียนมีโอกาสบรรลุเป้าหมาย ทำให้นักเรียนได้พูดกับคนอื่นๆ
รูปแบบของสภาวะทางจิตใจ (Mental Model)
รูปแบบของสภาวะทางจิตใจ ในที่นี้หมายถึงการสร้างการรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้น การมองเห็นหลักความจริง การแสดงถึงความเข้าใจสิ่งที่ได้รับในโลกของความซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลง
การเรียนเป็นกลุ่มคณะ (Team Learning)
สภาพแวดล้อมของการเรียนแบบออนไลน์จะให้ความรู้สึกโดดเดี่ยว นักเรียนไม่ได้พบครูและเพื่อนร่วมชั้น การจัดทำโครงงานเป็นทีมนักเรียนต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน การทำงานร่วมกัน นักเรียนจะประสบผลสำเร็จได้ด้วยการกระตุ้นในฐานะเป็นสมาชิตนหนึ่งในกลุ่ม กลุ่มเรียนที่ประสบผลสำเร็จได้ต้องคิดอย่างมีวิจารณญาณในเรื่องที่ซับซ้อนและมีวิธีการกระทำที่ใหม่ๆและมีความร่วมมือกัน
การสนทนาเป็นสิ่งจำเป็น หากเกิดความขัดแย้งครูต้องพร้อมที่จะแก้ไขความคิดเห็นที่แตกต่าง คำแนะนำของครูควรจะช่วยเตือนนักเรียนในด้านการปฏิบัติต่อผู้อื่น และช่วยให้นักเรียน
ระวังการสนทนาที่ไม่ได้ทำให้เกิดผลงาน การตั้งกฎของผู้ควบคุมทีมงาน การกระตุ้นให้นักเรียนพูดคุยโดยการประชุมผ่านเว็บช่วยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ ครูผู้ที่จัดการสอนแบบออนไลน์จำเป็นต้องมีภาวการณ์เป็นผู้นำในการเรียนรู้เป็นกลุ่มคณะ การจัดองค์ประกอบสำหรับการเรียนรู้ของครูจะต้องเป็นทั้งผู้ออกแบบ พ่อบ้านผู้ให้บริการที่เกี่ยวกับบทเรียนและการแสดงวิสัยทัศน์ของนักเรียน ครูผู้สอนที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญในหลักสูตรและทำให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวในกลุ่มเรียน
การจัดองค์ประกอบในการเรียนรู้ให้เป็นชั้นเรียนโดยแท้นั้นนักเรียนต้องเรียนรู้โดยการปฏิบัติมากกว่าการอ่าน การเขียน การฟัง และการเรียนตามลำพังด้วยตนเอง


Mhtml:file:://F:/ict 1 /ELearn Best practices.mht

ภาพประทับใจ

ภาพประทับใจ